ASEAN Political - Security Community

ASEAN Political - Security Community
อาเซียนมุ่งส่งเสริมความร่วมมือในด้านการเมืองและความมั่นคง เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

ASEAN Economic Community

ASEAN Economic Community
อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2558 โดยมีเป้าหมายอาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและ มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี

ASEAN Socio-Cultural Community

ASEAN Socio-Cultural Community
อาเซียนมุ่งหวังประโยชน์จากการรวมตัวกันเพื่อทำให้ประชาชนมีการ อยู่ดีกินดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีความรู้สึก เป็นอันหนึ่งอันเดียว โดยมีความร่วมมือเฉพาะด้าน (functional cooperation)

Keblinger

Keblinger

.

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

| วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
ฟิลิปปินส์เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียนเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510
ข้อมูลทั่วไป
มีชื่อเป็นทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the
Philippines) เป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดของไทยมาเป็นเวลานานและมีมุมมอง
ยุทธศาสตร์ร่วมกันในหลายด้าน ผลักดันความร่วมมือในด้านการค้า
พลังงาน ความมั่นคง ประสบปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองและ
เศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ประสบปัญหาจากขบวนการมุสลิมแบ่งแยก
ดินแดนภาคใต้
พื้นที่
298,170 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง
กรุงมะนิลา
ประชากร
91 ล้านคน
52 ประเทศไทยกับอาเซียน
ภาษา
ตากาล็อก เป็นภาษาประจำชาติ ภาษาฟิลิปปินส์และภาษาอังกฤษเป็น
ภาษาราชการ
ศาสนา
คริสต์นิกายโรมันคาทอลิค (ร้อยละ 83) นิกายโปรเตสแตนท์ (ร้อยละ 9)
อิสลาม (ร้อยละ 5)
วันชาติ
วันที่ 12 มิถุนายน
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย
วันที่ 12 กันยายน 2492
การเมืองการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยตามแบบสหรัฐอเมริกา โดยมีประธานาธิบดี
เป็นประมุขและหัวหน้าคณะบริหารประเทศ
อากาศ
มรสุมเขตร้อน ได้รับความชุ่มชื้นจากลมมรสุมทั้ง 2 ฤดูได้รับฝนจาก
ลมพายุไต้ฝุ่นและดีเปรสชั่น บริเวณที่ฝนตกมากที่สุด คือเมืองบาเกียว
สกุลเงิน
เปโซฟิลิปปินส์
ข้อมูลเศรษฐกิจ
พืชเศรษฐกิจสำคัญ
มะพร้าว อ้อย ป่านอบากา และข้าวเจ้า
ประเทศไทยกับอาเซียน 53
แร่ส่งออกสำคัญ
เหล็ก โครไมต์ ทองแดง เงิน
ผลิตภัณฑ์ส่งออกหลัก
แผงวงจรไฟฟ้า รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป
รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เครื่องสำอาง เหล็กกล้า
เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกล ผลิตภัณฑ์ยางผลิตภัณฑ์พลาสติก
เครื่องรับโทรทัศน์ และกระดาษ
ตลาดส่งออกที่สำคัญ
สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน เนเธอร์แลนด์ ฮ่องกง สิงคโปร์
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไต้หวัน จีน เกาหลีใต้
ความสัมพันธ์ไทย –ฟิลิปปินส์
มีความสัมพันธ์ที่ยาวนานและราบรื่นมาโดยตลอด ฟิลิปปินส์นับเป็น
ประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไทยสถาปนาความสัมพันธ์
ทางการทูตด้วย
ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ
เป็นคู่ค้าลำดับที่ 4 ของไทยในกลุ่มอาเซียน รองจากสิงคโปร์
มาเลเซียและอินโดนีเซีย ในขณะที่ไทยเป็นคู่ค้าลำดับที่ 2 ของ
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ในกลุ่มอาเซียนรองจากสาธารณรัฐสิงคโปร์
ด้านความมั่นคง
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์สนับสนุนแนวทางแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดน
ภาคใต้ของไทยอย่างสันติ โดยเน้นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม
54 ประเทศไทยกับอาเซียน
ซึ่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์พร้อมจะให้ความสนับสนุนด้านข้อมูล ข่าวสาร
และประสบการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผสมผสานหลักสูตรทาง
ศาสนากับหลักสูตรสามัญและกฎหมาย ซึ่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ได้
ดำเนินการไปแล้วในระดับหนึ่ง รวมทั้งยกร่างแผนงานเพื่อส่งเสริม
ความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ
และส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนาต่าง ๆ โดยการจัดสัมมนา
ระหว่างศาสนากับลัทธิความเชื่อ (Interfaith Dialogue) ทั้งนี้
ประเทศไทยได้จัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานตำรวจ
แห่งชาติ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ในเรื่อง
ความร่วมมือป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ
ด้านการค้า/การลงทุน
ไทยขอให้ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวมากขึ้น และขอให้ยกเลิกมาตรการจำกัด
การนำเข้าสินค้ากระจก โดยมีมติให้คณะกรรมาธิการร่วมด้านการค้า
พิจารณาหารายละเอียดและแนวทางแก้ไขปัญหา
ด้านสาธารณสุข
ไทยและฟิลิปปินส์ได้หารือกันในหลายประเด็น โดยเฉพาะเรื่องไข้หวัดนก
ซึ่งทั้งสองฝ่ายห่วงกังวลเรื่องการแพร่ระบาดของโรคในภูมิภาค
โดยพร้อมจะร่วมมือกันแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์เพื่อ
ป้องกันและสกัดกั้นการขยายตัวของโรค
ด้านพลังงาน
ทั้งสองฝ่ายจะเร่งรัดจัดการประชุมคณะทำงานร่วมด้านพลังงาน (Joint
Working Group on Energy) เพื่อสร้างความร่วมมือทั้งพลังงาน
ทางเลือก พลังงานชีวภาพ การลงทุนด้านพลังงานไฟฟ้าและ
พลังงานอื่นๆ
ประเทศไทยกับอาเซียน 55
ด้านการท่องเที่ยว
ไทยและฟิลิปปินส์ได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือ
ด้านการท่องเที่ยว เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2536 และในการประชุม
คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย - ฟิลิปปินส์
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2550 ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะกระชับความ
สัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว โดยให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนของ
ผู้บริหารระดับสูง การจัดพบปะระหว่างนักธุรกิจ และการแลกเปลี่ยน
บุคลากรด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ เช่น
การท่องเที่ยวที่สนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วม
ของชุมชน เป็นต้น
ข้อควรรู้
การเข้าไปประกอบธุรกิจในฟิลิปปินส์ในลักษณะต่างๆ เช่น การลงทุน
ร่วมกับฝ่ายฟิลิปปินส์จำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลให้ละเอียด
โดยเฉพาะในด้านกฎหมาย การจดทะเบียนภาษี และปัญหาทางด้าน
แรงงาน เป็นต้น






0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น


 

Copyright © 2010 ASEAN STUDIES CENTRE | Design by Dzignine

ผู้ติดตาม