ASEAN Political - Security Community

ASEAN Political - Security Community
อาเซียนมุ่งส่งเสริมความร่วมมือในด้านการเมืองและความมั่นคง เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

ASEAN Economic Community

ASEAN Economic Community
อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2558 โดยมีเป้าหมายอาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและ มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี

ASEAN Socio-Cultural Community

ASEAN Socio-Cultural Community
อาเซียนมุ่งหวังประโยชน์จากการรวมตัวกันเพื่อทำให้ประชาชนมีการ อยู่ดีกินดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีความรู้สึก เป็นอันหนึ่งอันเดียว โดยมีความร่วมมือเฉพาะด้าน (functional cooperation)

Keblinger

Keblinger

.

กฎบัตรอาเซียน (2)

| วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555
DSM ไว้แล้ว ก็ให้ใช้ DSM นั้น 5) หากข้อขัดแย้งไม่เกี่ยวข้องกับ
ความตกลงของอาเซียนฉบับใดให้ใช้กลไกคณะอัครมนตรีที่จัดตั้งโดย
สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
6) หากไม่อาจหาข้อยุติในข้อขัดแย้งได้ อาจยกเรื่องให้ที่ประชุมสุดยอด
อาเซียนตัดสิน 7) ให้เลขาธิการอาเซียนติดตามตรวจสอบการปฎิบัติ
ตามคำแนะนำ/คำตัดสินจาก DSM ของประเทศสมาชิก
และจัดทำรายงานเสนอผู้นำ 8) กำหนดให้นำเรื่องการไม่ปฎิบัติตาม
คำแนะนำ/คำตัดสินจาก DSM ให้ผู้นำพิจารณา และ 9) กฎบัตร
ไม่ตัดสิทธิของประเทศสมาชิกที่จะใช้รูปแบบการระงับข้อพิพาทตาม
กฎบัตรสหประชาชาติหรือกฏหมายระหว่างประเทศอื่น
บทที่ 9 งบประมาณและการเงิน (Budget and Finance)
ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการงบประมาณที่เป็นไปตามมาตรฐาน
สากลและสามารถตรวจสอบได้ และกำหนดเรื่องงบการบริหารงาน
ของสำนักเลขาธิการอาเซียน ซึ่งรัฐสมาชิกจะจ่ายเงินสนับสนุนเท่าๆ กัน
ตามที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และสามารถรับเงินสนับสนุนจากประเทศคู่
เจรจาได้ แต่จะต้องไม่มีเงื่อนไขพิเศษ ทั้งนี้ กฎบัตรมิได้ระบุเรื่อง
กองทุนพิเศษต่างๆ เพื่อการดำเนินการของอาเซียน อาทิ การดำเนิน
กิจกรรมความร่วมมือ การลดช่องว่างการพัฒนา ฯลฯ เพราะเป็นเรื่องที่
จะต้องมีการศึกษาและกำหนดวิธีระดมทุนที่เหมาะสมต่อไป
บทที่ 10 การบริหารงานและกระบวนการ (Administration
and Procedure) 1) กำหนดให้ประธานของที่ประชุมสุดยอดอาเซียน
คณะมนตรีประสานงานอาเซียน คณะมนตรีประชาคมอาเซียน
และคณะผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ตลอดจนองค์กรระดับรัฐมนตรี
อาเซียนเฉพาะสาขาและองค์กรเจ้าหน้าที่อาวุโสตามที่เหมาะสม
มาจากประเทศเดียวกัน (Single Chairmanship) เพื่อส่งเสริมให้การ
ทำงานเป็นเอกภาพและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 2) การเพิ่มบทบาท

ประธานในการ (ก) เป็นผู้ส่งเสริมผลประโยชน์ของอาเซียนและเป็น
ผู้ผลักดันการสร้างประชาคมอาเซียน (ข) เป็นผู้ส่งเสริมความเป็น
ศูนย์กลางของอาเซียนในแง่การนำนโยบายของอาเซียนเข้าไปผนวก
ไว้ในนโยบายระดับชาติของรัฐสมาชิก และการส่งเสริมบทบาทของ
อาเซียนในการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศภายนอกภูมิภาค และ
(ค) ทำให้อาเซียนสามารถจัดการวิกฤตการณ์และสถานการณ์เร่งด่วน
ที่มีผลกระทบต่ออาเซียนได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ
บทที่ 11 อัตลักษณ์และสัญลักษณ์ของอาเซียน (Identity
and Symbols) กำหนดให้อาเซียน มีหน้าที่ในการส่งเสริม 1) อัตลักษณ ์
ซึ่งหมายถึงการสร้างความรู้สึกในการเป็นเจ้าของอาเซียนในหมู่ประชาชน
และ 2) สัญลักษณ์ ได้แก่ คำขวัญ (วิสัยทัศน์เดียว อัตลักษณ์เดียว
ประชาคมเดียว) ธงและดวงตราอาเซียน วันอาเซียน (วันที่ 8 สิงหาคม
ของทุกปี) และเพลงอาเซียน
บทที่ 12 ความสัมพันธ์กับภายนอก (External Relations)
มีหลักการสำคัญ ดังนี้ 1) ให้อาเซียนเป็นผู้ผลักดันหลักในการรวม
กลุ่มระดับภูมิภาคที่อาเซียนริเริ่มขึ้น และเน้นการเป็นศูนย์กลางของ
อาเซียนในโครงสร้างความสัมพันธ์ระดับภูมิภาค 2) ให้ประเทศ
สมาชิกพยายามหาท่าทีร่วมในเวทีระหว่างประเทศต่างๆ 3) กำหนด
ให้ประเทศผู้ประสานงาน (Country Coordinator) มีหน้าที่ประสานงาน
ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา หรือองค์กร
ระหว่างประเทศอื่น โดยมีคณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่ 3
หรือองค์กรระหว่างประเทศ (ASEAN Committees in Third
Countries and International Organizations) เป็นผู้สนันสนุนการทำงาน
โดยเฉพาะการส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศที่คณะกรรมการนั้น

ตั้งอยู่ 4) ให้รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนในฐานะองค์กรความร่วมมือ
เฉพาะสาขาเป็นผู้ดูแลความสอดคล้องและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ของการดำเนินความสัมพันธ์ภานนอกของอาเซียน 5) ให้อำนาจคณะ
มนตรีประสานงานอาเซียนแต่เพียงองค์กรเดียวในการกำหนด
สถานะความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับประเทศหรือองค์กรภายนอก
โดยที่ประชุมรัฐมนตรีอื่นๆ สามารถเชิญประเทศหรือองค์กรภายนอก
เจ้าร่วมกิจกรรมได้เป็นครั้งคราว และ 6) ให้การรับรองเอกอัครราชทูต
ที่ประเทศอื่นแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนประจำอาเซียน
บทที่ 13 บทบัญญัติทั่วไปและบทบัญญัติสุดท้าย (General
and Final Provisions) กำหนดเรื่องพันธกรณีของประเทศสมาชิก
ในการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้กฎบัตร และความตกลงต่างๆ
ของอาเซียน การมีผลใช้บังคับของกฎบัตรเมื่อทุกประเทศให้สัตยาบัน
การภาคยานุวัติของประเทศสมาชิกใหม่ ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่าจะเปิดให้
เฉพาะประเทศติมอร์เลสเตเท่านั้น การแก้ไขกฎบัตร การทบทวนกฎบัตร
5 ปี หลังจากกฎบัตรมีผลใช้บังคับหรือตามที่ผู้นำกำหนด การตีความ
กฎบัตร ซึ่ง HLTF จะต้องหารือเรื่องกลไกที่เหมาะสมต่อไป
การกำหนดให้ความตกลงอาเซียนที่มีอยู่ในปัจจุบันมีผลใช้บังคับต่อไป
และให้กฎบัตรมีผลเหนือกว่าความตกลงในกรณีที่มีความขัดแย้งกัน
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของอาเซียน
กฎบัตรอาเซียนมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551
กล่าวคือ หลังจากที่ประเทศสมาชิกครบทั้ง 10 ประเทศ ได้ให้สัตยาบัน
กฎบัตร และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่
28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552 ที่จังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย
เป็นการประชุมระดับผู้นำอาเซียนครั้งแรกหลังจากกฎบัตรมีผลบังคับใช้


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น


 

Copyright © 2010 ASEAN STUDIES CENTRE | Design by Dzignine

ผู้ติดตาม