ASEAN Political - Security Community

ASEAN Political - Security Community
อาเซียนมุ่งส่งเสริมความร่วมมือในด้านการเมืองและความมั่นคง เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

ASEAN Economic Community

ASEAN Economic Community
อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2558 โดยมีเป้าหมายอาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและ มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี

ASEAN Socio-Cultural Community

ASEAN Socio-Cultural Community
อาเซียนมุ่งหวังประโยชน์จากการรวมตัวกันเพื่อทำให้ประชาชนมีการ อยู่ดีกินดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีความรู้สึก เป็นอันหนึ่งอันเดียว โดยมีความร่วมมือเฉพาะด้าน (functional cooperation)

Keblinger

Keblinger

.

กพั

| วันพุธที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2560
แนะนำสำหรับคุณ
  • 2,485 คนติดตามเพจนี้
  • อัตราการตอบกลับ 70 %
    ปกติแล้วตอบกลับภายในหนึ่งวัน
  • 2,483 คนถูกใจสิ่งนี้
    Parisah Bashan และเพื่อนคนอื่นๆ อีก 103 คนถูกใจเพจนี้
READ MORE

ytfyt

| วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558
READ MORE

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

| วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
เวียดนามเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2538
ข้อมูลทั่วไป
มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist
Republic of Vietnam) เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และมีบทบาท
สำคัญด้านความมั่นคงในภูมิภาค เป็นตลาดใหม่ในภูมิภาคอินโดจีน
การบริโภคในประเทศขยายตัวต่อเนื่อง ศักยภาพการผลิตสูง
แรงงานในประเทศมีคุณภาพ และยังคงมีค่าจ้างแรงงานต่ำ
ถูกจับตามองว่าจะเป็นคู่แข่งทางเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2551 เศรษฐกิจเวียดนามขยายตัว
ไม่สมดุล อัตราเงินเฟ้อสูงมาก ตั้งเป้าหมายเป็นประเทศอุตสาหกรรม
ภายในปี 2563
พื้นที่
331,690 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง
กรุงฮานอย
ประชากร
87 ล้านคน
ประเทศไทยกับอาเซียน 65
ภาษาราชการ
เวียดนาม ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ คือ ภาษาอังกฤษ
ฝรั่งเศส และจีน
ศาสนา พุทธ
(ร้อยละ 90) คริสต์ (ร้อยละ 7) ศาสนาอื่นๆ (ร้อยละ 3)
วันชาติ
วันที่ 2 กันยายน
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย
วันที่ 6 สิงหาคม 2519
การเมืองการปกครอง
ระบอบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม แต่งตั้งโดย
สภาแห่งชาติ (National Assembly) มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี ผูกขาด
การชี้นำภายใต้ระบบผู้นำร่วม (Collective Leadership) สาธารณรัฐ
สังคมนิยมเวียดนามเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมือง มีเอกภาพสูง
และมีการกระจายอำนาจ ซึ่งมีหลังการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์
เวียดนาม สมัยที่ 10 เมื่อกลางปี 2549 มีผู้นำที่มีประสบการณ์ด้าน
เศรษฐกิจและมีภาพลักษณ์ของผู้นำรุ่นใหม่
อากาศ
มรสุมเขตร้อน ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเปิดโล่งรับลมมรสุม
ตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านทะเลจีนใต้ ทำให้มีโอกาสรับลมมรสุมและ
พายุหมุนเขตร้อน จึงมีฝนตกชุกในฤดูหนาวอุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่
5 องศาเซลเซียส ถึง 37 องศาเซลเซียส
66 ประเทศไทยกับอาเซียน
สกุลเงิน
ด่ง
ข้อมูลเศรษฐกิจ
พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ
ข้าวเจ้า ยางพารา ชา กาแฟ ยาสูบ พริกไทย
การประมง
จับปลาได้เป็นอันดับ 4 ของสินค้าส่งออก เช่น ปลาหมึก กุ้ง
อุตสาหกรรมที่สำคัญ
อุตสาหกรรมทอผ้า อาหาร เหมืองแร่ รองเท้า ปูนซีเมนต์
เหมืองแร่ที่สำคัญ
ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ
ผลิตภัณฑ์นำเข้าที่สำคัญ
วัตถุดิบ วัสดุสิ่งทอ เครื่องหนัง เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
ตลาดส่งออกที่สำคัญ
ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ จีน
ความสัมพันธ์ระหว่างไทย – เวียดนาม
ไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเวียดนาม เมื่อวันที่ 6
สิงหาคม 2519 โดยเปิดสถานเอกอัครราชทูตที่กรุงฮานอยและ
ประเทศไทยกับอาเซียน 67
สถานกงสุลใหญ่ที่นครโฮจิมินห์ เมื่อปี 2521 และปี 2535 ตามลำดับ
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอย ประกอบด้วยสำนักงาน
ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารและสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเปิดสถานเอกอัครราชทูตในประเทศไทย
เมื่อปี 2521 ความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย - สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ปัจจุบันอยู่ในระดับที่ดี มีการแลกเปลี่ยนการเยือนทุกระดับรวมถึง
ระดับท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
ความร่วมมือด้านการค้า
ทั้งสองประเทศวางกลไกความสัมพันธ์ในหลายระดับ ระดับสูงสุด คือ
กรอบการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย - สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
อย่างไม่เป็นทางการ (Joint Cabinet Retreat : JCR) ซึ่งในการประชุม
JCR ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2547 ทั้งสองฝ่ายได้แสดงเจตนารมณ์ ใน
“แถลงการณ์ร่วมว่าด้วยกรอบความร่วมมือไทย - สาธารณรัฐสังคมนิยม
เวียดนามในทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21” (Joint Statement on
the Thailand - Vietnam Cooperation Framework in the First
Decade of the 21st Century) ระบุให้มีการเพิ่มพูนความร่วมมือใน
ทุกๆ ด้าน และตกลงให้จัดตั้งกลไกการหารือร่วม (Joint Consultative
Mechanism : JCM) เพื่อเป็นกลไกในระดับรอง ทำหน้าที่ดูแล ประสาน
ความร่วมมือในภาพรวมแทนคณะกรรมาธิการร่วมไทย - สาธารณรัฐ
สังคมนิยมเวียดนาม (Joint Commission : JC)
ด้านการเมืองและความมั่นคง
มีความร่วมมือและประสานกันอย่างใกล้ชิด โดยมีกรอบการประชุม
คณะทำงานร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง
(Joint Working Group on Political and Security Cooperation
: JWG on PSC) เป็นกลไกสำคัญ
68 ประเทศไทยกับอาเซียน
ความร่วมมือด้านการลงทุน
ประเทศไทยลงทุนในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามสูงเป็นอันดับที่
12 จากนักลงทุนต่างชาติทั้งหมด เอกชนไทยนิยมลงทุนที่นครโฮจิมินห์
และจังหวัดข้างเคียงในสาขาสำคัญ ได้แก่ ด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม
เคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมการเกษตร อาหารสัตว์ อุตสาหกรรมพลาสติก
ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ ทั้งนี้ สาขาการลงทุนที่มีความน่าสนใจ ได้แก่
ภาคบริการ ซึ่งประเทศไทยมีประสบการณ์และสาธารณรัฐสังคมนิยม
เวียดนามมีความต้องการเพิ่มขึ้นมาก เมื่อเข้าเป็นสมาชิกองค์การ
การค้าโลก และมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจขึ้นอีกระดับหนึ่ง
ด้านวิชาการ สังคมและวัฒนธรรม
ประเทศไทยมีความร่วมมือทางวิชาการกับเวียดนามตั้งแต่ปี 2535
ผ่านกรอบการประชุมความร่วมมือทางวิชาการไทย - สาธารณรัฐ
สังคมนิยมเวียดนาม นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังเห็นความสำคัญของ
การแลกเปลี่ยนการสอนภาษาระหว่างกัน โดยรัฐบาลไทยได้รับความร่วมมือ
ให้เปิดหลักสูตรสอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัยสาธารณรัฐสังคมนิยม
เวียดนาม 5 แห่ง ทั้งนี้ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามสนับสนุน
งบประมาณ 3.5 แสนดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสร้างโรงเรียนสอนภาษา
เวียดนามที่จังหวัดนครพนม ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนการศึกษา
ดูงานระหว่างกันในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
ข้อควรรู้
- หน่วยงานราชการ สำนักงาน และองค์กรให้บริการสาธารณสุข
เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 16.30 น. ตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์
- ผู้ถือหนังสือเดินทางปกติของไทย สามารถเดินทางเข้า
เวียดนามโดยได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา และพำนักอยู่ในเวียดนาม
ได้ไม่เกิน 30 วัน
ประเทศไทยกับอาเซียน 69
- ชาวต่างชาติที่อยู่ในเวียดนาม ต้องถือหนังสือเดินทางติดตัว
ตลอดเวลา ทั้งนี้ควรถ่ายเอกสารหนังสือเดินทาง บัตรเครดิต
และเอกสารสำคัญอื่นๆ แยกเก็บไว้ต่างหากจากต้นฉบับ เนื่องจาก
โรงแรมที่พักจะขอให้แขกต่างชาติแสดงหนังสือเดินทาง เพื่อการ
ลงทะเบียนและแจ้งทางการตำรวจที่เกี่ยวข้อง เวียดนามไม่อนุญาตให้
ถ่ายภาพอาคารที่ทำการต่างๆ ของรัฐ
- หากนำเงินตราต่างประเทศติดตัวเข้ามามากกว่า 7,000
ดอลลาร์สหรัฐ ต้องแจ้งให้ศุลกากรเวียดนามทราบการนำเงินตราออก
ประเทศมากกว่า 7,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต้องได้รับอนุญาตจาก
ธนาคารแห่งชาติหรือธนาคารกลางในท้องถิ่นก่อน มิเช่นนั้นจะถูกยึดเงิน
- บทลงโทษของเวียดนามในคดียาเสพติด การฉ้อโกง
หน่วยงานของรัฐมีโทษประหารชีวิต

READ MORE

ราชอาณาจักรไทย

|
ราชอาณาจักรไทย
ไทยเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียนเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510
ข้อมูลทั่วไป
มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)
พื้นที่
513,115 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง
กรุงเทพมหานคร
ประชากร
63 ล้านคน
ภาษาราชการ
ไทย
ศาสนา
พุทธ (ร้อยละ 90) พราหมณ์ ฮินดู คริสต์ และอิสลาม
62 ประเทศไทยกับอาเซียน
วันชาติ
วันที่ 5 ธันวาคม
การเมืองการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
อากาศ
แบบเขตร้อน (tropical climate) อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี ประมาณ
18-34 องศาเซลเซียส
สกุลเงิน
บาท
ข้อมูลเศรษฐกิจ
มูลค่าการค้าระหว่างไทย-ประเทศในอาเซียน (มกราคม – พฤศจิกายน
2551) รวมทั้งสิ้น 66,146.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยเกินดุลการค้า
9,625.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป
รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และ
ส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ ยางพารา
เม็ดพลาสติก สินค้าส่งออกที่ลดลง ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรกล
และส่วนประกอบของเครื่องจักร ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ ์
การบิน เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบทองแดงและของทำด้วย
ทองแดง อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด และวงจรพิมพ์
เป็นต้น
ประเทศไทยกับอาเซียน 63
พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ
ข้าว ข้าวโพด ยางพารา มันสำปะหลัง ผลไม้นานาชนิด เช่น เงาะ
ทุเรียน สับปะรด มังคุด ลางสาด มะม่วง กล้วยหอม ส้มโอ ฯลฯ
อาหาร ทะเลสดและตากแห้ง และผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่นๆ
ประเทศไทยกับอาเซียน
ไทยเป็นหนึ่งในห้าของสมาชิกผู้ก่อตั้งและเป็นจุดกำเนิดของอาเซียน
และมีบทบาทอย่างแข็งขันในกิจกรรมของอาเซียนตลอดมา รวมทั้ง
ยังมีส่วนผลักดันให้อาเซียนมีโครงการความร่วมมือในด้านต่างๆ
ที่ทันการณ์และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ระหว่าง
ประเทศ อาทิ การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน การประชุมอาเซียน
ว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-
แปซิฟิก สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวัน
ออกเฉียงใต้
ข้อควรรู้
ธนาคารเปิดทำการตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.00 น.
– 16.30 น. (ยกเว้นธนาคารตามห้างสรรพสินค้าที่เปิดบริการทุกวัน)
บริการแลกเปลี่ยนเงินตราเปิดทำการทุกวันระหว่างเวลา 08.30 น.
- 22.00 น.

READ MORE

สาธารณรัฐสิงคโปร์

|

สาธารณรัฐสิงคโปร์
สิงคโปร์เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียนเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510
ข้อมูลทั่วไป
มีชื่อเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore)
มีความมั่นคงด้านการเมืองภายในทำให้มีความต่อเนื่องของนโยบาย
ในด้านต่าง ๆ และมีนโยบายการทูตเชิงรุก เป็นผู้นำของอาเซียน
ประเทศหนึ่ง เป็นศูนย์กลางธุรกิจด้านการค้าและบริการ โทรคมนาคม
การเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศ (ธุรกิจที่ไม่ต้องอาศัยพื้นที่หรือ
ทรัพยากรธรรมชาติ) โดยมีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและการ
โทรคมนาคมที่ทันสมัย เป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนยุทธศาสตร์กับไทย
ในการเข้าถึงและขยายโอกาสการค้าและการลงทุน มีระบบการศึกษา
และการแพทย์ที่ดีในเอเชีย มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ดีและต่อเนื่อง
พื้นที่
699.4 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง
สิงคโปร์
ประเทศไทยกับอาเซียน 57
ประชากร
4.6 ล้านคน
ภาษา
มาเลย์ เป็นภาษาประจำชาติ และใช้ภาษาอังกฤษ มาเลย์ จีนกลาง
และทมิฬ เป็น ภาษาราชการ
ศาสนา
พุทธ (ร้อยละ 42.5) อิสลาม (ร้อยละ 14.9) คริสต์ (ร้อยละ 14.6)
ฮินดู (ร้อยละ 4) ไม่นับถือศาสนา (ร้อยละ 25)
วันชาติ
วันที่ 9 สิงหาคม
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย
วันที่ 20 กันยายน 2508
การปกครอง
ระบอบสาธารณรัฐ ระบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และ
นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล รัฐสภามีวาระคราวละ 5 ปี นโยบาย
ต่างประเทศของสิงคโปร์ เน้นด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีและ
การลงทุนจากต่างประเทศ
อากาศ ร้อนชื้น
มีฝนตกตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 26.8 องศาเซลเซียส
สกุลเงิน
ดอลลาร์สิงคโปร์
58 ประเทศไทยกับอาเซียน
ข้อมูลเศรษฐกิจ
จุดแข็งของสิงคโปร์ คือ เป็นประเทศขนาดเล็ก มีประชากรเพียง 4-5
ล้านคน ทำให้ศักยภาพของคนเป็นจุดเด่นของประเทศ เนื่องจาก
รัฐบาลสามารถทุ่มงบประมาณในการพัฒนาระบบการศึกษาได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ สิงคโปร์โดดเด่นในการเสนอแนวคิดเรื่องความร่วมมือ
ใหม่ๆ กับอาเซียน เช่น เสนอแผนความร่วมมือประชาคมเศรษฐกิจ
อาเซียน ซึ่งเป็นข้อตกลงที่จะเริ่มใช้ในปี 2563 และแนวคิดเรื่องการ
ตกลงด้านการค้าระหว่างอาเซียน เป็นต้น
พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ
ยางพารา มะพร้าว ผัก ผลไม้
ผลิตภัณฑ์ส่งออกหลัก
ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม เครื่องจักร
ผลิตภัณฑ์นำเข้าที่สำคัญ
พลังงาน (ร้อยละ 40 ของการนำเข้าทั้งหมด) และอาหาร
ตลาดส่งออกที่สำคัญ
มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน ไทย ฮ่องกง
ประเทศไทยกับอาเซียน 59
ความสัมพันธ์ระหว่างไทย – สิงคโปร์
ด้านการทูต
ความสัมพันธ์ไทย–สิงคโปร์ดำเนินมาอย่างราบรื่นตลอด 41 ปี
และได้พัฒนาไปในลักษณะ “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” เนื่องจากทั้งสอง
ประเทศมีจุดแข็งและมีศักยภาพที่เอื้อประโยชน์ต่อกันเป็นอย่างดี
ไทยมีทรัพยากรธรรมชาติ แรงงานจำนวนมากและมีพื้นที่กว้างใหญ่
ส่วนสิงคโปร์แม้จะไม่มีทรัพยากรธรรมชาติและมีพื้นที่น้อย แต่มีความ
ก้าวหน้าทางทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยีและและอุตสาหกรรมใน
ระดับสูง จึงได้นำจุดแข็งของทั้งสองประเทศมาพัฒนาร่วมกัน
จนนำไปสู่การส่งเสริมความสัมพันธ์และการพัฒนาที่ยั่งยืน
ด้านการเมืองและความมั่นคง
มีความร่วมมือทวิภาคี ทั้งการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ (Prime
Minister Retreat) ระหว่างนายกรัฐมนตรีไทยกับสิงคโปร์ เพื่อสร้าง
ความคุ้นเคยระดับผู้นำและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการประชุม
คณะกรรมาธิการบริหารร่วมด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศระหว่าง
กองทัพไทย – สิงคโปร์ เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงของ
ทั้งสองประเทศ มีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกองทัพเรือไทย – สิงคโปร ์
และการฝึกร่วมผสม (Cobra Gold) เป็นต้น
ด้านเศรษฐกิจ/การค้า
สิงคโปร์ มีความชำนาญเรื่องของระบบการค้าเสรีเป็นอย่างดีและเป็น
คู่ค้าสำคัญอันดับ 5 ของไทย รองจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีนและ
มาเลเซีย สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป แผนวงจรไฟฟ้าและส่วน
ประกอบอากาศยาน ด้านการลงทุน สิงคโปร์เป็นประเทศที่เข้ามาลง
ทุนในไทยมากเป็นอันดับ 6 โดยมีการส่งเสริมความร่วมมือด้านสินค้า
อาหารและเกษตร การขนส่งและโลจิสติกส์ และอสังหาริมทรัพย์
60 ประเทศไทยกับอาเซียน
ด้านการท่องเที่ยว
ชาวสิงคโปร์มีทัศนคติที่ดีต่อประเทศไทยและชาวไทย และมีความรู้
เกี่ยวกับไทยในระดับดี เนื่องจากมีความนิยมชมชอบเดินทางเข้ามา
ท่องเที่ยวในไทย ตลาดนักท่องเที่ยวชาวสิงคโปร์จึงเป็นหนึ่งใน
ตลาดหลักของการท่องเที่ยวของไทย
ด้านสังคมวัฒนธรรมและการศึกษา
กลไกความร่วมมือ ได้แก่ โครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน
ข้าราชการพลเรือนไทย – สิงคโปร์ (Thailand – Singapore Civil
Service Exchange Programme - CSEP) ด้านการศึกษา มีแผนงาน
เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยแลกเปลี่ยน
คณาจารย์ นักวิจัย และนิสิตนักศึกษาของทั้งสองประเทศ
ข้อควรรู้
หน่วยราชการเปิดทำการวันจันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 น.
-13.00 น. และ 14.00 น. - 16.30 น. และวันเสาร์ เปิดทำการระหว่างเวลา
08.00 น. – 13.00 น. ผู้ถือหนังสือเดินทางไทยสามารถเดินทางเข้า
สิงคโปร์ได้โดยไม่ต้องขอรับการตรวจลงตราและสามารถพำนักอยู่ได้
14 วัน การพำนักเกินระยะเวลาที่กำหนดถือว่าผิดกฎหมายมีโทษ
จำคุกสูงสุด 6 เดือน เฆี่ยน 3 ที ปรับสูงสุด 6,000 ดอลลาร์สิงคโปร์
และห้ามเข้าประเทศ การหลบหนีเข้าสิงคโปร์และประกอบอาชีพ
เร่ขายบริการผิดกฎหมาย จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง การลักลอบนำ
ยาเสพติด อาวุธปืนและสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ จะได้รับโทษอย่างรุนแรง
ขั้นประหารชีวิต

READ MORE

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

|

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
ฟิลิปปินส์เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียนเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510
ข้อมูลทั่วไป
มีชื่อเป็นทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the
Philippines) เป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดของไทยมาเป็นเวลานานและมีมุมมอง
ยุทธศาสตร์ร่วมกันในหลายด้าน ผลักดันความร่วมมือในด้านการค้า
พลังงาน ความมั่นคง ประสบปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองและ
เศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ประสบปัญหาจากขบวนการมุสลิมแบ่งแยก
ดินแดนภาคใต้
พื้นที่
298,170 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง
กรุงมะนิลา
ประชากร
91 ล้านคน
52 ประเทศไทยกับอาเซียน
ภาษา
ตากาล็อก เป็นภาษาประจำชาติ ภาษาฟิลิปปินส์และภาษาอังกฤษเป็น
ภาษาราชการ
ศาสนา
คริสต์นิกายโรมันคาทอลิค (ร้อยละ 83) นิกายโปรเตสแตนท์ (ร้อยละ 9)
อิสลาม (ร้อยละ 5)
วันชาติ
วันที่ 12 มิถุนายน
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย
วันที่ 12 กันยายน 2492
การเมืองการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยตามแบบสหรัฐอเมริกา โดยมีประธานาธิบดี
เป็นประมุขและหัวหน้าคณะบริหารประเทศ
อากาศ
มรสุมเขตร้อน ได้รับความชุ่มชื้นจากลมมรสุมทั้ง 2 ฤดูได้รับฝนจาก
ลมพายุไต้ฝุ่นและดีเปรสชั่น บริเวณที่ฝนตกมากที่สุด คือเมืองบาเกียว
สกุลเงิน
เปโซฟิลิปปินส์
ข้อมูลเศรษฐกิจ
พืชเศรษฐกิจสำคัญ
มะพร้าว อ้อย ป่านอบากา และข้าวเจ้า
ประเทศไทยกับอาเซียน 53
แร่ส่งออกสำคัญ
เหล็ก โครไมต์ ทองแดง เงิน
ผลิตภัณฑ์ส่งออกหลัก
แผงวงจรไฟฟ้า รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป
รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เครื่องสำอาง เหล็กกล้า
เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกล ผลิตภัณฑ์ยางผลิตภัณฑ์พลาสติก
เครื่องรับโทรทัศน์ และกระดาษ
ตลาดส่งออกที่สำคัญ
สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน เนเธอร์แลนด์ ฮ่องกง สิงคโปร์
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไต้หวัน จีน เกาหลีใต้
ความสัมพันธ์ไทย –ฟิลิปปินส์
มีความสัมพันธ์ที่ยาวนานและราบรื่นมาโดยตลอด ฟิลิปปินส์นับเป็น
ประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไทยสถาปนาความสัมพันธ์
ทางการทูตด้วย
ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ
เป็นคู่ค้าลำดับที่ 4 ของไทยในกลุ่มอาเซียน รองจากสิงคโปร์
มาเลเซียและอินโดนีเซีย ในขณะที่ไทยเป็นคู่ค้าลำดับที่ 2 ของ
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ในกลุ่มอาเซียนรองจากสาธารณรัฐสิงคโปร์
ด้านความมั่นคง
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์สนับสนุนแนวทางแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดน
ภาคใต้ของไทยอย่างสันติ โดยเน้นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม
54 ประเทศไทยกับอาเซียน
ซึ่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์พร้อมจะให้ความสนับสนุนด้านข้อมูล ข่าวสาร
และประสบการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผสมผสานหลักสูตรทาง
ศาสนากับหลักสูตรสามัญและกฎหมาย ซึ่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ได้
ดำเนินการไปแล้วในระดับหนึ่ง รวมทั้งยกร่างแผนงานเพื่อส่งเสริม
ความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ
และส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนาต่าง ๆ โดยการจัดสัมมนา
ระหว่างศาสนากับลัทธิความเชื่อ (Interfaith Dialogue) ทั้งนี้
ประเทศไทยได้จัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานตำรวจ
แห่งชาติ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ในเรื่อง
ความร่วมมือป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ
ด้านการค้า/การลงทุน
ไทยขอให้ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวมากขึ้น และขอให้ยกเลิกมาตรการจำกัด
การนำเข้าสินค้ากระจก โดยมีมติให้คณะกรรมาธิการร่วมด้านการค้า
พิจารณาหารายละเอียดและแนวทางแก้ไขปัญหา
ด้านสาธารณสุข
ไทยและฟิลิปปินส์ได้หารือกันในหลายประเด็น โดยเฉพาะเรื่องไข้หวัดนก
ซึ่งทั้งสองฝ่ายห่วงกังวลเรื่องการแพร่ระบาดของโรคในภูมิภาค
โดยพร้อมจะร่วมมือกันแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์เพื่อ
ป้องกันและสกัดกั้นการขยายตัวของโรค
ด้านพลังงาน
ทั้งสองฝ่ายจะเร่งรัดจัดการประชุมคณะทำงานร่วมด้านพลังงาน (Joint
Working Group on Energy) เพื่อสร้างความร่วมมือทั้งพลังงาน
ทางเลือก พลังงานชีวภาพ การลงทุนด้านพลังงานไฟฟ้าและ
พลังงานอื่นๆ
ประเทศไทยกับอาเซียน 55
ด้านการท่องเที่ยว
ไทยและฟิลิปปินส์ได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือ
ด้านการท่องเที่ยว เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2536 และในการประชุม
คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย - ฟิลิปปินส์
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2550 ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะกระชับความ
สัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว โดยให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนของ
ผู้บริหารระดับสูง การจัดพบปะระหว่างนักธุรกิจ และการแลกเปลี่ยน
บุคลากรด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ เช่น
การท่องเที่ยวที่สนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วม
ของชุมชน เป็นต้น
ข้อควรรู้
การเข้าไปประกอบธุรกิจในฟิลิปปินส์ในลักษณะต่างๆ เช่น การลงทุน
ร่วมกับฝ่ายฟิลิปปินส์จำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลให้ละเอียด
โดยเฉพาะในด้านกฎหมาย การจดทะเบียนภาษี และปัญหาทางด้าน
แรงงาน เป็นต้น

READ MORE

สหภาพพม่า

|
สหภาพพม่า
พม่าเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2540
ข้อมูลทั่วไป
มีชื่อเป็นทางการว่า สหภาพพม่า (Union of Myanmar) มีทรัพยากร
อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งวัตถุดิบทรัพยากรธรรมชาติ ตลาดการค้า
แรงงาน และแหล่งลงทุนที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะด้านพลังงาน
(ก๊าซและไฟฟ้าพลังน้ำ) และเป็นทางเชื่อมสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน
และสาธารณรัฐอินเดีย สหภาพพม่าเป็น “critical factor”
ในยุทธศาสตร์ระดับภูมิภาคของไทย ซึ่งไทยได้รับผลกระทบจาก
สถานการณ์ภายในพม่าหลายประการ อาทิ ยาเสพติด แรงงานผิดกฎหมาย
ความมั่นคงบริเวณชายแดน เป็นต้น
พื้นที่
657,740 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง
เนปีดอว์
ประชากร
55.4 ล้านคน
ประเทศไทยกับอาเซียน 47
ภาษาราชการ
พม่า
ศาสนา
พุทธ (ร้อยละ 90) คริสต์ (ร้อยละ 5) อิสลาม (ร้อยละ 3.8)
วันชาติ
วันที่ 4 มกราคม
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย
วันที่ 24 สิงหาคม 2491
การปกครอง
ระบอบเผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพ
และการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council
หรือ SPDC) โดยประธาน SPDC เป็นประมุขของประเทศ และ
นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล
อากาศ
มรสุมเมืองร้อน ด้านหน้าภูเขาอาระกันโยมา ฝนตกชุกมาก ภาคกลาง
ตอนบนแห้งแล้งมาก เพราะมีภูเขากั้นกำบังลมส่วนภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ อากาศค่อนข้างเย็น และค่อนข้างแห้งแล้ง
สกุลเงิน
จั๊ต
48 ประเทศไทยกับอาเซียน
ข้อมูลเศรษฐกิจ
การเพาะปลูกเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก เขตเกษตรกรรมคือบริเวณ
ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี และแม่น้ำสะโตง ปลูกข้าวเจ้า
ปอกระเจา อ้อย และพืชเมืองร้อนอื่นๆ
ผลิตภัณฑ์ส่งออกที่สำคัญ
ก๊าซธรรมชาติ สิ่งทอ ไม้ซุง
ผลิตภัณฑ์นำเข้าที่สำคัญ
เครื่องจักรกล ใยสังเคราะห์ น้ำมันสำเร็จรูป
ตลาดส่งออกที่สำคัญ
ไทย อินเดีย จีน
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
จีน สิงคโปร์ ไทย
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย-สหภาพพม่า
ด้านการทูต
ไทยและพม่าเปิดสถานเอกอัครราชทูตของทั้งสองฝ่ายเมื่อวันที่
14 ธันวาคม 2492 ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทั้งในระดับ
รัฐบาลและประชาชน มีการแลกเปลี่ยนการเยือนในทุกระดับอย่าง
สม่ำเสมอ
ด้านการเมืองและความมั่นคง
ไทยและพม่ามีกลไกความร่วมมือทวิภาคี ได้แก่ คณะกรรมาธิการร่วม
ไทย-พม่า (Thailand – Myanmar Joint Commission on Bilaeral
ประเทศไทยกับอาเซียน 49
Cooperation – JC) คณะกรรมการเขตแดนร่วม (Joint Boundary
Committee – JBC) และคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค
(Regional Border Committee – RBC) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ
และแก้ไขปัญหาในระดับต่างๆ ทั้งในภาพรวมและระดับพื้นที่
ด้านเศรษฐกิจ/การค้า
ไทยและพม่ามีกลไกความร่วมมือในกรอบคณะกรรมาธิการร่วมทาง
การค้าไทย-พม่า (Joint Trade Commission – JTC) เพื่อส่งเสริม
ความสัมพันธ์และความร่วมมือทางการค้าระหว่างกันไทยเป็นประเทศ
คู่ค้าอันดับ 1 ของพม่า สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ ไขมัน
และน้ำมันจากพืชและสัตว์ เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์
และเม็ดพลาสติก สินค้าที่ไทยนำเข้าจากพม่า ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ
ไม้ซุง ไม้แปรรูป สินแร่โลหะอื่นๆ และเศษโลหะ เหล็ก เหล็กกล้า
และถ่านหิน ด้านการลงทุน ภาคเอกชนไทยลงทุนในพม่าร้อยละ 17.28
ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด และเป็นอันดับ 2 รองจาก
ประเทศสิงคโปร์
ด้านการท่องเที่ยว
ไทยและพม่าจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านการท่องเที่ยวและพัฒนา
การท่องเที่ยวระหว่างภาคใต้ของไทยกับเมืองทวายของพม่า
ด้านสังคมวัฒนธรรมและการศึกษา
ไทยและพม่าได้ลงนามในความตกลงทางวัฒนธรรมเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม
2542 และมีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น โครงการอัญเชิญ
ผ้าพระกฐินพระราชทานไปถวายแก่วัดในพม่าการเชิญผู้สื่อข่าวพม่า
เยือนไทยการสนับสนุนการสอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัยภาษา
ต่างประเทศของพม่า โครงการความร่วมมือทางวิชาการที่ไทยให้ทุน
50 ประเทศไทยกับอาเซียน
การศึกษา ทุนฝึกอบรม/ดูงาน จัดส่งวัสดุอุปกรณ์และผู้เชี่ยวชาญไป
ให้คำปรึกษาแนะนำในด้านต่าง ๆ ในสาขาการเกษตร การศึกษา
สาธารณสุข และสาขาอื่นๆ ที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน นอกจากนี้
เมื่อปี 2544 รัฐบาลไทยได้ให้ความช่วยเหลือแก่พม่าในโครงการพัฒนา
หมู่บ้านยองข่า รัฐฉาน โดยนำโครงการพัฒนาดอยตุงเป็นแบบอย่าง
เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนพม่าให้เลิกปลูกฝิ่นและปลูกพืช
ผลอย่างอื่น ช่วยสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล ดำเนินการด้านสาธารณสุข
ฯลฯ แต่ภายหลังเมื่อมีการปลดพลเอก ขิ่น ยุ้น โครงการดังกล่าว
ได้รับผลกระทบจึงหยุดชะงักไป นอกจากนี้ไทยและพม่าได้ร่วม
ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสารสนเทศและ
การกระจายเสียงและเผยแพร่
ข้อควรรู้
เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2553 รัฐบาลพม่าประกาศเปลี่ยนธงชาติและ
ตราประจำชาติอย่างเป็นทางการ แต่ยังใช้ชื่อเดิมคือ สหภาพพม่า
(the Union of Myanmar) ส่วนชื่อประเทศใหม่ตามรัฐธรรมนูญ คือ
สาธารณรัฐสหภาพพม่า (the Republic of the Union of Myanmar)

READ MORE

ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)

|
ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)
มาเลเซียเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียนเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510
ข้อมูลทั่วไป
มาเลเซียมุ่งเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี 2563 หรือ (Vision
2020) และมีแผนพัฒนาต่อเนื่อง (Mission 2057) เป็นแนวทางพัฒนา
ประเทศจนถึงปี 2600 มีบทบาทสำคัญในองค์การการประชุมอิสลาม
(OIC) และต้องการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้าของ OIC ภายในปี
2552 โดยใช้ศักยภาพด้านการบริหารธนาคารอิสลาม และอุตสาหกรรม
อาหารฮาลาล ในปี 2550 นักท่องเที่ยวมาเลเซียมาไทยมากเป็น
อันดับหนึ่ง และเป็นคู่ค้าสำคัญของไทยในอาเซียน
พื้นที่
329,758 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง
กรุงกัวลาลัมเปอร์
ประชากร
27.73 ล้านคน
42 ประเทศไทยกับอาเซียน
ภาษา
มาเลย์
ศาสนา
อิสลาม (ร้อยละ 60) พุทธ (ร้อยละ 19) คริสต์ (ร้อยละ 12)
วันชาติ
วันที่ 31 สิงหาคม
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย
วันที่ 31 สิงหาคม 2500
การปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ปัจจุบันประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ
ประมุขแห่งรัฐมีตำแหน่งเป็นสมเด็จพระราชาธิบดี อยู่ในตำแหน่งคราวละ
5 ปี นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลสหพันธรัฐ และมุขมนตรีแห่งรัฐ
เป็นหัวหน้ารัฐบาลแห่งรัฐ
อากาศ
มีอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร อยู่ในอิทธิพลของลมมรสุม
สกุลเงิน
ริงกิต
ข้อมูลเศรษฐกิจ
การเพาะปลูก เป็นประเทศที่ผลิตยางพาราที่สำคัญของโลก และข้าวเจ้า
ปลูกมากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้ง 2 ด้าน
ประเทศไทยกับอาเซียน 43
ผลิตภัณฑ์ส่งออกที่สำคัญ
อุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติเหลว
ปิโตรเลียม เฟอร์นิเจอร์ ยาง น้ำมันปาล์ม
ผลิตภัณฑ์นำเข้าที่สำคัญ
ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรอุตสาหกรรม
สินค้าแปรรูป สินค้าอาหาร
ตลาดส่งออกที่สำคัญ
สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน ไทย ฮ่องกง
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน ไทย
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย
ด้านการทูต
นอกจากสถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงกัวลาลัมเปอร์แล้ว ไทยยัง
มีสถานกงสุลใหญ่ ในมาเลเซียอีก 2 แห่ง คือ ปีนัง และโกตาบารู
และมีสถานกงสุลกิตติมศักดิ์เกาะลังกาวี อีก 1 แห่ง สำหรับ
หน่วยงานของส่วนราชการต่างๆ ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ภายใต้สถาน
เอกอัครราชทูตไทย ได้แก่ สำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร สำนักงาน
ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ สำนักงานแรงงาน ส่วนหน่วยงาน
ของไทยอื่นๆ ที่ตั้งสำนักงานในมาเลเซียคือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
บริษัทการบินไทย สำหรับหน่วยงานของมาเลเซียในประเทศไทย
ได้แก่ สถานเอกอัครราชทูตมาเลเซีย และสถานกงสุลใหญ่มาเลเซีย
ประจำจังหวัดสงขลา
44 ประเทศไทยกับอาเซียน
ด้านการเมืองและความมั่นคง
ไทยและมาเลเซียมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและแน่นแฟ้น มีการแลก
เปลี่ยนการเยือนทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการในระดับต่างๆ
ตั้งแต่ระดับพระราชวงศ์ชั้นสูง ระดับรัฐบาล และเจ้าหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ
แต่ยังคงมีประเด็นปัญหาที่ต้องร่วมมือกันแก้ไข เช่น ปัญหา
การปักปันเขตแดนทางบก ปัญหาบุคคลสองสัญชาติ และการก่อความ
ไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย เป็นต้น
ด้านเศรษฐกิจ/การค้า
การค้าระหว่างไทยกับมาเลเซียในปี 2550 มีมูลค่า 16,408
ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยขาดดุลการค้า 826.50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ เครื่องสำอาง เครื่องคอมพิวเตอร ์
รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า ยางพารา
สินค้านำเข้าที่สำคัญจากมาเลเซีย ได้แก่ น้ำมันดิบและแร่เชื้อเพลิง
เคมีภัณฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบเคมีภัณฑ์
เครื่องจักรไฟฟ้า และส่วนประกอบ ในปี 2550 นักลงทุนมาเลเซียได้
รับอนุมัติโครงการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการ
ลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 53 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนด้านอุปกรณ์และ
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
ด้านการท่องเที่ยว
ในปี 2550 นักท่องเที่ยวมาเลเซียเดินทางมาประเทศไทย 1.2 ล้านคน
และนักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางไปมาเลเซียประมาณ 600,000 คน
ด้านสังคม วัฒนธรรมและการศึกษา
ไทยกับมาเลเซียมีความใกล้ชิดกันในระดับท้องถิ่น ประชาชนทั้งสอง
ฝ่ายไปมาหาสู่กันในฐานะมิตรและเครือญาติ มีโครงการเชื่อมโยง
ประเทศไทยกับอาเซียน 45
เส้นทางคมนาคม และความร่วมมือด้านการบริหารจัดการสัญจร
ข้ามแดน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในพื้นที่และส่งเสริมการ
ติดต่อด้านการค้าและการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยัง
อนุญาตให้ประชาชนที่ถือสัญชาติของอีกฝ่ายหนึ่งที่อาศัยอยู่ในพื้นที่
ชายแดนใช้บัตรผ่านแดนซึ่งออกให้โดยหน่วยงานปกครองท้องถิ่นของ
แต่ละประเทศแทนการใช้หนังสือเดินทางเพื่อผ่านด่านพรมแดน
รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้นำศาสนาอิสลาม การแลกเปลี่ยน
ข้อมูลด้านการบริหาร จัดการโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามและวิทยาลัย
อิหม่าม เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านกิจการศาสนาอิสลาม มีการ
ประชุมความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกันเพื่อทบทวนและติดตาม
ผลการดำเนินงานของทั้ง 2 ประเทศ
ข้อควรรู้
ประเทศมาเลเซียบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนา
ประจำชาติ และผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะได้รับสิทธิพิเศษ คือ
เงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณสุข การคลอดบุตร
งานแต่งงานและงานศพตามนโยบาย “ภูมิบุตร” มาเลเซียมีปัญหา
ประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ในอดีตเคยเกิดการปะทะระหว่าง
เชื้อชาติ เนื่องจากการกีดกันทางเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ในมาเลเซียประกอบด้วย
ชาวมาเลย์ กว่าร้อยละ 40 ที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 33 เป็นชาวจีนร้อยละ
10 เป็นชาวอินเดีย และ อีกร้อยละ 10 เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว
อีกร้อยละ 5 เป็นชาวไทย และอื่นๆ อีกร้อยละ 2

READ MORE

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

|
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ลาวเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2540
ข้อมูลทั่วไป
มีชื่อเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao
People’s Democratic Republic) เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความ
ใกล้ชิดกับไทยทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เชื้อชาติ
ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม มีเขตแดนติดต่อกับประเทศไทยทั้ง
ทางบกและทางน้ำถึง 1,810 กิโลเมตร พัฒนาการต่างๆ ในลาวจึง
ส่งผลกระทบต่อไทยและการกำหนดนโยบายของไทยต่อภูมิภาคอย่าง
หลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมทั้งเป็นแหล่งป้อนวัตถุดิบ แหล่งพลังงานสำรอง
และแหล่งลงทุนของไทย เพื่อการผลิตสินค้าส่งออกไปยังประเทศที่
สามที่ให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ลาว นอกจากนี้เป็นประเทศที่ไม่มี
ทางออกทางทะเล แต่สามารถเป็นจุดเชื่อมต่อ (land bridge หรือ
land link) ด้านการคมนาคมขนส่งและการส่งออกสินค้าของไทยไป
ยังประเทศที่สามในอนุภูมิภาค
พื้นที่
236,800 ตารางกิโลเมตร
ประเทศไทยกับอาเซียน 37
เมืองหลวง
นครหลวงเวียงจันทน์
ประชากร
6 ล้านคน
ภาษา
ลาว
ศาสนา
พุทธ (ร้อยละ 75) อื่นๆ (ร้อยละ 25)
วันชาติ
วันที่ 2 ธันวาคม
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย
วันที่ 19 ธันวาคม 2493
การปกครอง
ระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่าระบอบประชา
ธิปไตยประชาชน) โดยพรรคการเมืองเดียว คือพรรคประชาชนปฏิวัติ
ลาวซึ่งเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ
มีประธานประเทศเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล
นโยบายต่างประเทศมุ่งสร้างเสริมความสัมพันธ์แบบรอบด้านกับ
ทุกประเทศ โดยให้ความสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นลำดับแรก ได้แก่
เวียดนาม จีน พม่า กัมพูชา และไทย รองลงมาเป็นประเทศร่วมอุดมการณ ์
ได้แก่ รัสเซีย เกาหลีเหนือ และคิวบา
38 ประเทศไทยกับอาเซียน
อากาศ
ลักษณะภูมิอากาศของลาวคล้ายกับภาคเหนือและภาคอีสานของไทย
แต่ฤดูหนาวมีอากาศหนาวมากกว่า พื้นที่ทางภาคใต้และทาง
ตอนกลางของประเทศเป็นบริเวณที่มีฝนตกชุกมากกว่าภาคเหนือ
สกุลเงิน
กีบ
ข้อมูลเศรษฐกิจ
การเพาะปลูก ภาคเกษตรกรรม มีพื้นที่เพาะปลูก 1,187,500 ไร่
และผลิตข้าวได้ 2.6 ล้านตัน/ปี
ผลิตภัณฑ์ส่งออกที่สำคัญ
ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ เศษโลหะ ถ่านหิน เสื้อผ้าสำเร็จรูป
ผลิตภัณฑ์นำเข้าที่สำคัญ
รถจักรยานยนต์ และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องอุปโภคบริโภค
ตลาดส่งออกที่สำคัญ
ไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมนี สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร
เนเธอร์แลนด์
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
ไทย จีน เวียดนาม สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เยอรมนี
ประเทศไทยกับอาเซียน 39
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ด้านการทูต
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวในปัจจุบันดำเนินไปอย่างราบรื่น
ใกล้ชิด ทั้งสองฝ่ายได้ใช้กลไกและเวทีความร่วมมือในด้านต่างๆ ที่
จัดตั้งขึ้นทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคีผลักดันความร่วมมือและ
แก้ไขปัญหา เพื่อหาทางออกร่วมกันอย่างสันติวิธี
ด้านการเมืองและความมั่นคง
กองทัพไทยและลาวมีความสัมพันธ์ที่ดีทั้งในระดับส่วนกลางและท้องถิ่น
มีความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงบริเวณชายแดน
ไทย-ลาว ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกับรัฐมนตรีว่า
การกระทรวงป้องกันประเทศตั้งแต่เดือนตุลาคม 2546 เพื่อเป็นกรอบ
ในการปฏิบัติงานให้ชายแดนไทย-ลาวเป็นชายแดนแห่งมิตรภาพ สันติภาพ
และความมั่นคง นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายยังมีความร่วมมือด้านการ
ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งมีการประชุมว่าด้วยความร่วมมือ
ด้านยาเสพติดเป็นประจำทุกปี
ด้านเศรษฐกิจ/การค้า
การค้าระหว่างประเทศทั้งสองมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไทยเป็น
ประเทศที่ลงทุนในลาวมากที่สุด นอกจากนี้ไทยได้ให้สิทธิพิเศษด้าน
ภาษีศุลกากรในการนำเข้าสินค้าเกษตรจากลาว ทั้งในรูปของการให้
สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ และยกเว้น
อากรขาเข้าสินค้าในลักษณะ one way free trade หลายร้อยรายการตั้งแต่
ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน
40 ประเทศไทยกับอาเซียน
ด้านการท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวไทยไปลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 154.48 และนักท่องเที่ยวลาว
มาไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 78.84
ด้านสังคม
วัฒนธรรมและการศึกษา ไทยให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ
กับลาว ตั้งแต่ปี 2516 โดยเน้นด้านการพัฒนาบุคลากรในลักษณะ
การให้ทุนการศึกษา ทุนฝึกอบรม ดูงาน และโครงการพัฒนา
ในสาขาการเกษตร การศึกษา และสาธารณสุข ทั้งสองฝ่ายยังมี
ความร่วมมือด้านแรงงาน ทั้งการจ้างแรงงาน การคุ้มครองแรงงาน
และการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
ข้อควรรู้
ลาว มีสายการบินเดียวคือ การบินลาว มีสนามบินทั้งหมด 52 แห่ง
มีเพียง 9 แห่งที่ลาดยาง ลาวขับรถทางขวา ธนาคารไทยในลาว
มี 5 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารทหารไทย ธนาคารไทยพาณิชย ์
ธนาคารกรุงไทย และธนาคารกรุงศรีอยุธยา

READ MORE
 

Copyright © 2010 ASEAN STUDIES CENTRE | Design by Dzignine

ผู้ติดตาม